การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการลงทุนในธุรกิจชุดทดสอบ( 18 เมษายน พ.ศ.2555)
การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการลงทุนในธุรกิจชุดทดสอบ ZnO/TMTD
ในน้ำยางธรรมชาติ
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้งมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและการส่งออก เนื่องจากมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในปริมาณที่สูงและหากพิจารณาเพิ่มเติม ในด้านคุณภาพของน้ำยาง ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมยางที่ส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์พร้อมต้นทุนการผลิต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการลงทุนในธุรกิจชุดทดสอบ ZnO / TMTD ในน้ำยางธรรมชาติ ที่จะควบคุมการผลิตและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด
น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตสินค้าหลายประเภท เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฯลฯ คุณภาพของน้ำยางข้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และต้นทุนการผลิต ดังนั้น เพื่อรักษาคุณภาพน้ำยางไม่ให้เสียสภาพจากการทำลายของเชื้อราและแบคทีเรีย จึงต้องเติมสารเคมีบางอยางลงไป วิธีการหนึ่งที่ใชกันอย่างแพรหลาย คือ การเติมแอมโมเนียและใช้สาร Tetramethylthiuramdisulphide (TMTD) ร่วมกับสาร Zinc Oxide (ZnO) เป็นสารเสริมในการรักษาสภาพน้ำยางสด โดยเฉพาะน้ำยางขนในระบบผลิตที่ใชแอมโมเนียนอย แต่เนื่องจาก TMTD หากไดรับเขาสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะเปนสารที่กอใหเกิดมะเร็งได ในส่วนของสารประกอบสังกะสีออกไซด์ (ZnO) หากเติมในกระบวนการผลิตน้ำยางข้นสูงเกินไป จะสงผลเสียต่อกระบวนการควบคุมการผลิต ทําใหการควบคุมใหเนื้อยางคงรูปไมเปนไปตามที่ตองการ ซึ่งอาจส่งผลใหเกิดการสูญเสียผลิตภัณฑบางสวนอันเนื่องมาจากการสุกเร็วเกินไปของเนื้อยาง
ปัจจุบันการควบคุมปริมาณสารทั้ง 2 ชนิดของโรงงานก็ทำได้ยาก เนื่องจากที่ผ่านมาวิธีการตรวจสอบปริมาณสารทั้ง 2 ชนิดในน้ำยางค่อนข้างยุ่งยากต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง ทำให้โรงงานส่วนใหญ่ไม่นิยมตรวจปริมาณสาร ZnO และ TMTD สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ได้ร่วมมือกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาชุดน้ำยาวิเคราะห์หาปริมาณสารทีเอ็มทีดี (TMTD Easy Kit) และสังกะสี (ZnO Easy Kit) ในน้ำยางที่มีความแม่นยำ และใช้เวลาตรวจสอบน้อยกว่า 15 นาที ได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้วิธีการทดสอบโดยใช้ชุดน้ำยาดังกล่าวมีความสะดวกไม่ซับซ้อน โดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงงานสามารถทำได้ ช่วยประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา
เพื่อให้ผลงานวิจัยดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด คือ สามารถถ่ายทอดให้เกิดการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจึงกำหนดให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตชุดทดสอบ (Test Kit) น้ำยางพาราเพื่อการค้า โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์ คือ
- การวิเคราะห์ศักยภาพการตลาด และประมาณการอุปสงค์ทั้งหมดของ เพื่อประมาณการความต้องการชุดทดสอบของตลาด นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดเรื่องระดับการยอมรับเทคโนโลยีมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
- การวิเคราะห์ธุรกิจ โดยวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ด้วยวิธี SWOT Analysis
- การวิเคราะห์อุตสาหกรรม โดยใช้ Five Force Model เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมที่กำลังศึกษาว่าการเข้าออกของผู้ค้ารายใหม่ การแข่งขันในตลาด อำนาจการต่อรอง และมีสินค้าที่สามารถทดแทนสินค้าที่จะผลิตได้มากน้อยแค่ไหน
- การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือกระบวนการผลิต
- การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน จะศึกษาครอบคลุมต้นทุนและผลตอบแทน ของโครงการ การวัดความคุ้มค่าในการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนโดยใช้การวิเคราะห์ด้วย PB, DPB, NPV และ IRR
- การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเบื้องต้น
ผลการประมาณการอุปสงค์หรือยอดขายที่คาดว่าจะขาย โดยได้ประมาณการยอดขายใน 2 กรณี คือ (1) อุตสาหกรรมน้ำยางข้นไม่ขยายตัว และ (2) อุตสาหกรรมน้ำยางข้นขยายตัวปีละ 5 % ซึ่งพบว่า ในกรณีตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ พบว่า ในปีที่มีความต้องการซื้อสูงสุดในกรณีอุตสาหกรรมน้ำยางข้นไม่ขยายตัว จะมีปริมาณเท่ากับ 12,170 ชุดต่อปี หรือเฉลี่ยเท่ากับ 1,014 ชุดต่อเดือน ในกรณีอุตสาหกรรมน้ำยางข้นมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์สูงสุดจะมากถึง 16,310 ชุดต่อปี หรือเท่ากับ 1,359 ชุดต่อเดือน
ผลการวิเคราะห์เพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน ตลอดจนโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้ SWOT Analysis พบว่า การลงทุนทำธุรกิจผลิตชุดทดสอบ ZnO Easy Kit และ TMTD Easy Kit มีแนวโน้มที่น่าสนใจมีปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยลบ ซึ่งให้ผลสอดคล้องกับการวิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยใช้ Porter’s Five Force Model ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจนี้ยังไม่มีคู่แข่งที่ชัดเจน สอดคล้องกับแนวโน้มตลาดน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ ที่จะให้ความสำคัญกับผลกระทบจากสาร TMTD มากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตน้ำยางข้นรายไดสามารถควบคุมปริมาณสาร TMTD แลพะ ZnO ได้ตามความต้องการลูกค้า จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันมาก
ผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี พบว่ากระบวนการผลิตชุดทดสอบนั้นไม่มีความยุ่งยาก แต่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและสารเคมีในขั้นตอนการผสมสารเคมี และขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ
ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน พบว่า จากการวิเคราะห์งบประมาณการกระแสเงินสดสุทธิของโครงการกรณีผลิตจำหน่ายภายในประเทศ เมื่อโครงการอายุ 5 ปี สามารถวิเคราะห์เกณฑ์การตัดสินใจทางการเงิน ได้ดังนี้
- WACC |
= |
5.56% |
- PB |
= |
2.05 ปี |
- DPB |
= |
2.09 ปี |
- NPV |
= |
10,839,835 |
- IRR |
= |
112.65% |
- PI |
= |
14.14 |
การพิจารณาผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากการตั้งโรงงานผลิตชุดทดสอบนั้น จะต้องพิจารณาจากผลประโยชน์สืบเนื่องที่เกิดจากการที่อุตสาหกรรมน้ำยางข้นสามารถควบคุมปริมาณ การใช้สาร ZnO และ TMTD ในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งจะทำให้โรงงานสามารถลดต้นทุนการผลิต และลดต้นทุนการสูญเสียจากการให้ความร้อนผลิตภัณฑ์ โดยการศึกษาได้กำหนดผลประโยชน์ไว้ 3 ทางเลือก ซึ่งในทางเลือกต่ำที่สุด จะสามารถลดต้นทุนจากการประหยัดสารเคมีได้ถึง 17,585,976 บาทต่อปี
ในขณะเดียวกัน ผลการประมาณการผลประโยชน์ที่ได้จากการลดความเสียหาย จากกระบวนการให้ความร้อนที่เกิดจากการมีปริมาณสาร ZnO/TMTD สูงกว่าที่กำหนด โดยหากปริมาณความเสียหายเท่ากับ 0.001% ของยอดการผลิตทั้งหมดจะมีมูลค่าความเสียหายมากถึง 11,287,032 บาทต่อปี
จากผลการศึกษาและด้วยข้อจำกัดของอายุเทคโนโลยี ผู้ผลิตควรรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการหาตัวแทนจำหน่าย เพื่อจะได้รีบเปิดตัวสินค้าในตลาดเป็นเจ้าแรก เพราะหากรอเวลาให้มีการกำหนดมาตรฐานน้ำยางข้น อาจทำให้เอกชนรายอื่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าแข่งขันในตลาด ทำให้ผู้รับอนุญาตในปัจจุบันเสียโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจ Test Kit ซึ่งจะส่งผลต่อ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต
ดร. วีระศักดิ์ คงฤทธิ์
เสาวนิต ปราบนคร